ตาม กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดให้ "รถยก " หมายความว่า รถที่ติดตั้ง อุปกรณ์ใช้สำหรับการยก หรือเคลื่อนย้าย สิ่งของ เช่น ฟอร์คลิฟต์ (forklift) หรือรถ ที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน การทำงานใน โรงงานอุตสาหกรรม รถโฟล์คลิฟท์ ถือว่าเป็นอุปกรณ์ พาหนะผ่อนแรง ที่มีความสำคัญ ในการจัดการสินค้า ในด้านการผลิต และการขนส่ง สินค้า เป็นอย่างมาก รถเป็นพาหนะ ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว จึงเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงสูง ในการที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ทีมงาน เซฟตี้อินไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญ เพื่อให้เกิดการขับรถโฟล์คลิฟท์ หรือ การขับรถยกอย่างปลอดภัยและถูกวิธี จึงได้มีการสรุปใจความสำคัญ ของกฎหมายมาให้ท่านได้อ่านกัน เพื่อให้ท่านได้ทราบว่าขับรถโฟล์คลิฟท์อย่างไรจึงจะปลอดภัย และได้ปฎิบัติถูกต้องตาม กฎหมายโฟล์คลิฟท์
ในการประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การรื้อถอน หรือการเคลื่อนย้าย เครื่องจักร รถยก ลิฟต์
เครื่องจักร สำหรับใช้ในการยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียด คุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
หากไม่มีรายละเอียด คุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานดังกล่าว นายจ้างต้องดำเนินการ ให้วิศวกร เป็นผู้จัดทำรายละเอียด คุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
จัดให้มีโครงหลังคาของรถยก ที่มั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันอันตราย จากวัสดุตกหล่นได้ เว้นแต่รถยก ที่ออกแบบมา ให้ยกวัสดุสิ่งของ ที่มีความสูงไม่เกิน ศีรษะของผู้ขับขี่
จัดให้มีป้าย บอกพิกัดน้ำหนักยก อย่างปลอดภัย ตามที่กำหนดไว้ ในรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งาน ตามข้อ 8 ไว้ที่รถยก พร้อมทั้ง ติดตั้งป้ายเตือนให้ระวัง
ตรวจสอบรถยก ให้มีสภาพใช้งานได้ดี และปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนา เอกสารการตรวจสอบ ไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
จัดให้มีสัญญาณเสียง หรือแสงไฟเตือนภัยในขณะทำงาน ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นตามสภาพในการทำงานตาม เช่น กระจกมองข้าง
ให้ลูกจ้าง ซึ่งทำหน้าที่ ขับรถยกชนิดนั่งขับ สวมใส่เข็มขัดนิรภัย ในขณะทำงานบนรถตลอดเวลา
นายจ้างต้องไม่ดัดแปลง หรือกระทำการใดกับรถยก ที่มีผลทำให้ความปลอดภัยในการ
ทำงานลดลง เว้นแต่ กรณีที่นายจ้างดัดแปลงรถยก เพื่อใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง และได้ปฏิบัติ
ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงานแล้ว
นายจ้างต้องควบคุมดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่สำหรับรถยก ที่ใช้ไฟฟ้า ให้อยู่ห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับ การระบายอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมของไอกรด และไอระเหยของไฮโดรเจนจากการประจุไฟฟ้า
นายจ้างต้องตีเส้นช่องทางเดินรถยก บริเวณภายในอาคาร หรือกำหนดเส้นทางเดินรถยก ในบริเวณอื่น ที่มีการใช้รถยกเป็นประจำ
นายจ้างต้อง ติดตั้ง กระจกนูน หรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ไว้ที่บริเวณทางแยก หรือทางโค้ง ที่มองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า
นายจ้างต้องจัดทางเดินรถยก ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักรถ
รวมทั้งน้ำหนักบรรทุกของรถยก ได้อย่างปลอดภัย
นายจ้าง ต้องจัดให้ลูกจ้าง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น ผู้ขับรถยก ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้รถยก แต่ละประเภท ความปลอดภัยในการขับรถยก การตรวจสอบ และบำรุงรักษารถยก โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ การทำงานเกี่ยวกับรถยก ตามหลักสูตร
ที่อธิบดีประกาศกำหนด
นายจ้างต้องควบคุม ดูแลการนำรถยกไปใช้ปฏิบัติงาน ใกล้สายไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีแรงดันไฟฟ้า โดยต้องมีระยะห่าง เพื่อความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
นายจ้างต้องควบคุมดูแล ไม่ให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ขับรถยก โดยสารหรือขึ้นไปบนส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยก
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔
หมายเหตุ – เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บัญญัติให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ที่กำหนดในกฎกระทรวง และเพื่อให้การทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ มีมาตรฐานอันจะทำให้ ลูกจ้างมีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ที่ตั้ง:
7/77 หมู่ 5 ต.ห้วยกะปิ
อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20130
© 2022 Created with เซฟตี้อินไทย
ข้อตกลงและเงื่อนไข เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น