ขับรถโฟล์คลิฟท์ “ รถโฟล์คลิฟท์ ” หมายความว่า รถที่ติดตั้งอุปกรณ์ ใช้สําหรับการยก หรือ เคลื่อนย้ายสิ่งของ ในกรณีที่ นายจ้างทำงานเกี่ยวกับ รถโฟล์คลิฟท์ นายจ้างต้องปฎิบัติ ดังต่อไปนี้ คือ ให้จัดโครงหลังคา ที่มั่งคงแข็งแรง สามารถป้องกันอัตราย จากวัสดุตกหล่นได้ จัดทำป้ายบอกพิกัด น้ำหนักยก ให้ตรงตามความสามารถ ในการ ยกสิ่งของ ได้โดยปลอดภัย ติดไว้ที่ รถโฟล์คลิฟท์ เพื่อให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน ตรวจสอบ รถโฟล์คลิฟท์ ให้มีสภาพใช้งานได้ อย่างปลอดภัย ก่อนการใช้งานทุกครั้ง และ เก็บผลการตรวจสอบ ไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ จัดให้มีสัญญาณเสียง หรือ แสงไฟเตือนภัย ในขณะทำงานตามความเหมาะสม ของการใช้งาน ต้องมีการ ตรวจสอบ รถโฟล์คลิฟท์ ทุกวัน ก่อนการปฎิบัติงาน หรือ พบเหตุผิดปกติ ให้รายงานผู้ที่รับผิดชอบทันที และ ห้ามใช้รถที่ผิดปกติ หรือ มีลักษณะที่ไม่ปลอดภัย ต่อการใช้งาน ต้องบีบแตร ให้สัญญาณทุกครั้ง เมื่อเลี้ยวถอยหลัง ทางข้าม ประตูเข้า – ออก หรือมุม บริเวณทำงาน ให้ทำป้ายบอก พิกัด น้ำหนักยก ติดไว้ที่ รถโฟล์คลิฟท์ บริเวณที่เห็นไดชัดเจน และ ให้มีสัญญาณ เสียง หรือ แสงไฟ เตือนภัย ในขณะทำงาน
1. ห้ามผู้อื่นขึ้นโดยสารบน รถโฟล์คลิฟท์
นายจ้างต้อง ควบคุมดูแลมิให้ บุคคลอื่นโดยสารไปกับ รถโฟล์คลิฟท์
2. ห้ามยื่นแขน ขน ศีรษะ ออกนอกรถขณะ ขับรถโฟล์คลิฟท์
นายจ้างต้อง ควบคุมดูแล มิให้บุคคลที่ ขับโฟล์คลิฟท์ ยื่นแขน ขา หรือ ศีรษะ ออกมานอกรถ ขณะทำการขับรถโฟล์คลิฟท์
3. ห้ามใช้ รถโฟล์คลิฟท์ ขนย้ายสิ่งของ ที่จัดไม่เป็นระเบียบ
นายจ้างต้อง จัดให้พื้นเส้นทางเดินรถ ขับรถโฟล์คลิฟท์ ให้มีความมั่นคง แข็งแรง และ สามารถรองรับ น้ำหนักรถ รวมทั้งน้ำหนักบรรทุกของ รถโฟล์คลิฟท์ ได้อย่างปลอดภัย
4. ห้ามหยุดรถโฟล์คลิฟท์ ออกรถเร็ว หรือ เลี้ยวกะทันหัน
ต้องไม่ขับเร็ว และ ใช้ความเร็ว ขณะ ขับรถโฟล์คลิฟท์ ให้พอเหมาะกับ สภาพพื้นผิวถนน น้ำหนักบรรทุก และ สภาพบริเวณทำงาน
5. ห้ามขับรถ โฟล์คลิฟท์ เหยียบของบนพื้น ห้ามยืน เดิน หรือ ทำงานใต้งา รถโฟล์คลิฟท์ ที่กำลังทำงาน
นายจ้างต้อง กำหนดเส้นทาง และ ตีเส้นช่องทางเดินรถขณะ ขับรถโฟล์คลิฟท์ ในอาคาร หรือ บริเวณที่มี การใช้งาน รถโฟล์คลิฟท์ เป็นประจำ
6. ห้ามยกของสูง บังระดับสายตา ของผู้ขับรถโฟล์คลิฟท์
นายจ้างต้องติดตั้ง กระจกนูน หรือ วัสดุอื่นที่มี คุณสมบัติคล้ายกัน ไว้ที่บริเวณทางแยก หรือ ทางโค้งที่มองไม่เห็นเส้นข้างหน้า และ ต้องให้ผู้ ขับโฟล์คลิฟท์ ยกของสูงจน บังระดับสายตา ของผู้ขับรถโฟล์คลิฟท์
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร และ การจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อม ในการทำงาน เกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ. ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา ๖ และ มาตรา ๑๐๓ แห่ง พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ. ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นกฎหมาย ที่มีบทบัญญัติ บางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และ มาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวงไว้
ที่ตั้ง:
7/77 หมู่ 5 ต.ห้วยกะปิ
อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20130
© 2022 Created with เซฟตี้อินไทย
ข้อตกลงและเงื่อนไข เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น